วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

จิตรกรรม



จิตรกรรมหรือภาพเขียนมีส่วนประกอบหลัก คือ เส้น สี และน้ำหนักของสี สีมีส่วนสัมพันธ์กับความกว้าง ยาว และความลึกในภาพ สีช่วยสื่อคว ามหมายทางอารมณ์และจิตใจด้วย เช่น ช่างเขียนภาพพุทธประวัติบนผนังโบสถ์แห่งหนึ่ง จะวางโครงสร้างของสีให้สอดคล้องกับเรื่องรา วและสถานที่เพื่อให้เกิดความรู้สึกศรัทธาในศาสนา สีที่นำมาใช้เขียนภาพ ส่วนมากได้มาจากวัตถุซึ่งมาจากธรรมชาติ เช่น สีของดิน หิน พืช และสัตว์ ช่างเขียนไทยแต่โบราณนิยมเขียนภาพด้วยสีฝุ่นผสมกาว ดังจะดูตัวอย่างได้จาก ภาพจิตรกรรมฝาผนังตามผนังของโบสถ์ เมื่อต้องการเขียนภาพ ช่างเขียนจะนำเอาวัสดุต่าง ๆ ซึ่งจะใช้ทำเป็นสีมทำให้แห้งและบดให้ละเอียดเป็นผง เรียกกันว่า สีฝุ่น เมื่อจะเขียนภาพช่างเขียนจะผสมสีฝุ่นด้วยกาวและน้ำกาวที่ใช้ในสมัยโบราณส่วนมากเ ป็นกาวที่ทำจากหนังสัตว์
ภาพเขียนฝาผนังของไทยทั้งหมด เขียนบนผนังฉาบปูนซึ่งแห้งแล้ว ส่วนการเขียนภาพบนผนังปูนซึ่งยังเปียกตามกรรมวิธีของตะวันตก ที่เรียกว่า เฟรสโก (fresco) ไม่เป็นที่นิยมของช่างไทย
การเขียนภาพจิตรกรรมของไทยโบราณ ส่วนใหญ่มักเป็นการเขียนภาพเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา หรือคติความเชื่อต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกั บศาสนา ดังนั้นการเขียนภาพจิตรกรรมจึงมักเขียนกันบนผนังภายในโบสถ์หรือวิหารของวัดต่างๆ และจะเขียนบนผนังฉาบปูนเรียบซึ่ง ปูนแห ้งสนิทแล้ว
แต่เนื่องจากลักษณะสภาพดินฟ้าอากาศของไทยมีความชื้นในอากาศสูง และลักษณะการก่อสร้างโบสถ์วิหาร เป็นการก่อสร้างลักษณะผนังรับน้ำหนัก ก่อด้วยอิฐซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดซึมความชื้นได้ดี ทั้งความชื้นจากน้ำใต้ดินและความชื้นจากอากาศ ทำให้ผ นังปูนซึ่งแห้งสนิทใน ช่วงระยะเวลาการก่อสร้างเสร็จใหม่ๆ ดูดซึมความชื้นเข้าในผนังได้อีก ทำให้ผิวปูนฉาบผุกร่อน ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมากต่อภา พจิตรกรรมที่เขียนอยู่บนผิวหน้าของผนังปูนนอกจากความชื้นจะทำให้ผิวปูนฉาบผุกร่อนแล้ว วัสดุที่ใช้ในการเขียนภาพ เช่น สีดิน และกาวหนังสัตว์ ที่ใช้ในการผสมสี ก็เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดเชื้อราซึ่งเป็นอันตรายต่อภาพเขียนเช่นกัน ดังจะเห็นได้ว่าภาพจิตรกรรมฝาผนังในประเทศ ไทยส่วนใหญ่ชำรุดเสียหายและซ่อม แซมยากมาก การซ่อมแซมต้องใช้กรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์แก้ไขความชื้นในผนังเสียก่อนจึงจะซ่อมแซมได้นอกจากการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังด้วยสีฝุ่นผสมกาวแล้ว การเขียนภาพจิตรกรรมเป็นแผ่นทั้งบนผ้าและบนกระดาษของไทยใน สมัยโบราณก็ใช้สีฝุ่นเขียนด้วยเช่นเดียวกัน เช่น การเขียนภาพเรื่องราวบนสมุดข่อย เป็นต้น ในสมัยโบราณการเขียนภาพสีน้ำมัน บนผ้าไม่ปรากฏหลักฐาน
ผู้ที่เขียนภาพจิตรกรรมสีน้ำมันเป็นคนแรกคือพระสรลักษณ์ลิขิต (เริ่มมีผลงานปรากฏ ในสมัยรัชกาลที่ 6) ซึ่งในสมัยต่อม ามีผู้นิยมเขียนภาพด้วยสีน้ำมันบนผ้ากันมากขึ้น เนื่องจากมีความคงทนไม่เสียหายง่ายเหมือนการเขียนด้วยสีฝุ่น ในปัจจุบันมีผู้ผลิตสีเขียน ภาพด้วยสารผสมทางเคมีต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมและนอกจากนั้นศิลปินในปัจจุบันได้มีการทดลองค้นไา และนำเอาวัสดุหลายประเภทมาใช้ในงานจิตรกรรม ทำให้รูปแบบของจิตรกร รมเปลี่ยนแปลงไปจากแบบประเพณีที่ทำสืบเนื่องต่อกันมาจากสมัยโบราณ

ไม่มีความคิดเห็น: