วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

จิตรกรรม


จิตรกรรมฝาผนังเรื่องสามก๊กสถานที่ : วัดประเสริฐสุทธาวาส เขตราษฏร์บูรณะ
จารึกบนแผ่นหินซึ่งฝังติดกับผนังด้านทิศตะวันตก ภายในโบสถ์อ่านได้ว่า ในปี พ.ศ. 2381 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 พระประเสริฐวานิชได้บริจาคเงินซ่อมแซมทั้งพระอาราม สันนิษฐานว่าพระประเสริฐวานิชผู้นี้น่าจะเป็นคนเดียวกับเจ้าสัวเส็ง เศรษฐบุตร แต่จากหลักฐานศิลปวัตถุที่พบในวัด ได้แก่ ใบเสมา พระประธานในวิหาร และพระประธานในพระอุโบสถ ระบุว่าวัดนี้มีอายุเก่าแก่ตั้งแต่สมัยก่อนอยุธยาสิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้คือภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ วาดอยู่เหนือกรอบประตูหน้าต่างโดยรอบทั้งสี่ทิศ เป็นภาพเขียนลายเส้นสีดำ แบ่งเป็นตารางสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ เขียนเป็นเรื่องสามก๊ก แต่ละช่องมีภาษาจีนกำกับ ตามคติการเขียนภาพแบบจีน ตัวภาพอยู่ในสภาพค่อนข้างดี ลายเส้นยังคมชัด จะมีก็แต่บริเวณใกล้กรอบประตูหน้าต่างที่ภาพลบเลือนไปบ้างนอกจากนี้ยังมีพระอุโบสถเป็นแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 คือนำศิลปะจีนมาผสม มองเผิน ๆ คล้ายศาลเจ้าจีน ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา มีลวดลายรูปปั้นแบบจันประดับบนหลังคาและหน้าบัน โดยใช้เครื่องถ้วยเคลือบที่ทุบให้แตกแล้วเป็นวัสดุตกแต่งซึ่ง น. ณ ปากน้ำ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องประวัติศาสตร์ศิลป์สันนิษฐานว่าวัดนี้อาจเป็นต้นแบบในด้านศิลปกรรมแบบจีนผสมไทยให้กับวัดราชโอรส ซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 3 ก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น: