วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ภาพจำลองการใช้สีแดงและเขียวตัดกันในจิตรกรรมวัดอุโมงค์ (ภาพจิตรกรรมภายในอุโมงค์ที่ 2)
สีสันในจิตรกรรม
ภาพจำลองจิตรกรรมวัดอุโมงค์อันเป็นภาพที่สร้างขึ้นโดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการคัดลอกงานจิตรกรรม และการปฏิบัติงานอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังด้วยกระบวนการทางเคมีได้ทำให้เราเห็นจิตรกรมฝาผนังในสภาพเดิมก่อนการชำรุดเมื่อราว 500 ปีก่อนว่า ในด้านการใช้สีนั้น สีหลักที่ใช้ในงานก็คือ สีแดงสดหรือสีแดงชาด กับสีเขียวสด (สีเขียวสดดังกล่าวหากเทียบเคียงกับสีสมัยใหม่จะเทียบเคียงได้ใกล้เคียงกันมากกับสีเขียว Emerald Green ที่ผู้ทำงานศิลปะและการออกแบบคุ้นเคยกันดี) สีแดง และเขียวที่ปรากฏในจิตรกรรมนั้นเป็นการใช้คู่สีตรงกันข้ามตัดกันในสัดส่วน 80 : 20 หรือ 70 : 30 รูปแบบการใช้สีดังกล่าว หากกล่าวตามทฤษฎีสีแล้ว ก็เป็นการใช้สีที่ตรงตามทฤษฎีสีและการออกแบบในงานศิลปะที่พบแพร่หลายในงานศิลปะและการออกแบบทั้งในงานจิตรกรรม สิ่งพิมพ์ และสื่อดิจิตอล ในยุคปัจจุบันเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีทฤษฎีอยู่ส่วนหนึ่งที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในส่วนการใช้สีคู่ตรงกันข้ามในงานออกแบบว่า การออกแบบที่ดีในการใช้คู่สีตรงกันข้ามนั้นควรให้คู่สีตรงกันข้ามในวงจรสีธรรมชาติมีสัดส่วนส่วนสีที่ตัดกันในอัตราส่วน 80 : 20 หรือ 70 : 30 จะถือว่างดงามลงตัวที่สุด ดังนั้น รูปแบบดังกล่าวที่ได้ปรากฏ ในงานจิตรกรรมโบราณเช่นที่วัดอุโมงค์นี้จึงเป็นรูปแบบที่นำสมัยมาก น่าสังเกตด้วยว่าช่างล้านนาไทยโบราณได้รู้จักแนวคิดนี้ก่อนการเข้ามาของทฤษฎีสี และทฤษฎีองค์ประกอบศิลปะจากตะวันตกจะแพร่หลายสู่ประเทศไทยในอีกหลายร้อยปีต่อมา ข้อสังเกตการใช้สีดังกล่าวในงานจิตรกรรมวัดอุโมงค์นั้น ในเชิงปรัชญามีความสำคัญสูงมากเพราะเป็นการเปิดประเด็นนำไปสู่คำถามสำคัญว่า
● ทฤษฎีสีและทฤษฎีองค์ประกอบศิลปะปัจจุบันที่คนทำงานศิลปะและการออกแบบรู้จักและคุ้นเคยกันดีในปัจจุบันซึ่งล้วนเป็นการรู้จักผ่านตะวันตกทั้งสิ้นนั้น ฉะนั้นทฤษฎีดังกล่าวเป็นทฤษฎีที่มีความเป็นสากล(universal) ที่ไม่ขึ้นอยู่กับ กาละ(time) เทศะ(space) ใช่หรือไม่
● ทฤษฎีสีและทฤษฎีองค์ประกอบศิลปะเช่นนั้นเป็นความรู้ที่มนุษย์มีมาก่อนประสบการณ์(apriori) หรือว่าเป็นความรู้หลังประสบการณ์
ความเข้าใจที่มีต่อเรื่องเหล่านี้คือความจำเป็นพื้นฐานที่เป็นคำอธิบายว่าปรากฏการณ์ทางศิลปะที่วัดอุโมงค์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร และเป็นไปอย่างไร ช่างไทยแต่โบราณรู้จักการใช้สีที่ตรงตามทฤษฎีตะวันตกเช่นนั้นได้อย่างไร โครงการย้อนรอยอดีตจิตรกรรมวัดอุโมงค์จึงฝากเป็นคำถามให้ได้ช่วยคิดกัน

ประวัติจิตรกรรมไทย


ประวัติจิตรกรรมไทย
ศิลปะทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ไม่พบหลักฐานที่เป็นงานจิตรกรรม แต่พบภาพสลักลายเส้นบนแผ่นหินเป็นรูปผู้ชาย นั่งพับเพียบชันเข่า เท้าแขน ไม่สวมเสื้อ นุ่งโจงกระเบน รอบ ตัวมีหม้อน้ำ หอยสังข์ เงิน ดาว ภาพลายสลักนี้เป็นแบบอย่างของศิลปะที่เรียกกันว่า ศิลปะทวาราวดี ซึ่งอาจจะ สลักขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ รูปสลักนี้แม้จะไม่มีความสำคัญทางศิลปะมากนัก แต่ก็ถือว่าเป็นภาพลายเส้นที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ที่พบและยังเหลืออยู่
ภาพลายเส้นที่ถือว่าเป็นต้นเค้าของการเขียนภาพจิตรกรรมไทย คือ ภาพสลักลายเส้นบนแผ่นหินชนวนในอุโมงค์วัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย ภาพสลักนี้อาจจะทำขึ้นตามแบบภาพวาดของอินเดีย ซึ่งภิกษุชาวลังกานำเข้ามายังกรุงสุโขทัย เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่พุทธศาสนา ภาพสลักลายเส้นบน แผ่นหินอุโมงค์ในวัดศรีชุม แม้จะเป็นเพียงภาพลายเส้นรูปคนตามเรื่องราวของพระพุทธชาดก
ภาพลายเส้นนี้อาจเป็นต้นเค้าของความบันดาลใจ ให้ช่างของสุโขทัยคิดลายเส้นที่เป็นต้นแบบของงานจิตรกรรมไทยก็ได้ จิตรกรรมฝาผนัง หรือ ภาพเขียนระบายสีที่เก่าแก่ที่สุดของไทย ได้แก่ จิตรกรรมที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และจิตรกรรมในถ้ำศิลป์จังหวัดยะลา จิตรกรรมทั้งสองแห่งนี้ ประมาณว่าเขียนขึ้นในราวตอนต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘ หรือกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙
ภาพเขียนที่ฝาผนังของวัดเจดีย์เจ็ดแถว เป็นภาพเขียนสีเอกรงค์ (Monochrome) คือ การใช้สีสีเดียว แต่มีน้ำหนักอ่อนแก่ของสีหรือใช้สีในวรรณสีเดียวกันเข้าประกอบแต่จะดูเหมือนเป็นสีเดียวกัน ภาพเขียนนี้แสดงให้เห็นความก้าวหน้าของงานจิตรกรรมของสุโขทัย โดยการใช้เค้าโครง และการจัดภาพตามแบบอย่างของภาพลายเส้น แต่ได้ใช้พระพักตร์ของรูปในงานจิตรกรรม ในขณะที่รูปเทวดาและสาวก
งานจิตรกรรมของไทยเริ่มก่อรูปแบบที่เป็นลักษณะเฉพาะของตนเองขึ้นแล้ว ส่วนภาพจิตรกรรมที่ถ้ำศิลป์ จังหวัดยะลานั้น ท่านศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ได้กล่าวว่า "เป็นของหลายสมัยและหลายแบบปนกันอยู่ภาพพระพุทธรูปที่มีรูปพระสาวกและภาพสตรี ๓ คน กำลังยืนอยู่นั้น ยังคงรักษาลักษณะของศิลปะศรีวิชัยไว้ ภาพเขียนเหล่านี้อาจจะวาดขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ คล้ายกับว่าเป็นการฟื้นฟูพุทธศาสนาขึ้นใหม่ ก่อนที่จะเดินทางต่อมายังกรุงสุโขทัย ดังนั้นภาพเขียนเหล่านี้จึงเป็นการแสดงออกครั้งสุดท้ายของสกุลช่างเขียนพื้นเมืองตามศิลปะแบบศรีวิชัยอย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจิตรกรรมฝาผนังที่วัดเจดีย์เจ็ดแถวและจิตรกรรมไทยในถ้ำศิลป์
รูปแบบของจิตรกรรมไทย ได้อาศัยภาพสลักลายเส้นและแบบอย่างของประติมากรรมสุโขทัย จิตรกรรมในยุคเริ่มแรกนี้ยังไม่มีรูปแบบที่เป็นของไทยอย่างแท้จริง คงทำตามแบบตัวอย่างของศิลปะอินเดียอยู่มาก จนถึงกรุงศรีอยุธยาซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ตอนกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒ จิตรกรรมไทยจึงได้วิวัฒนาการขึ้นเป็นลำดับ จนปรากฏลักษณะเฉพาะของจิตรกรรมไทยอย่างชัดเจน
จิตรกรรมไทย ยุคเริ่มต้นที่มีรูปแบบที่มีลักษณะเฉพาะ คือ จิตรกรรมบนผนังในองค์พระปรางวัดราชบูรณะ และจิตรกรรมที่วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขียนขึ้นระหว่าง พ.ศ.๑๙๖๗-๑๙๗๐
จิตรกรรมบนผนังในองค์พระปรางค์ของวัดราชบูรณะเป็นภาพจิตรกรรมที่เขียนขึ้นด้วยวิธีปูนเปียก (Fresco) เขียนเป็นรูปเทวดา มีลักษณะเช่นเดียวกับลายสลักที่วัดศรีชุม สุโขทัยภาพเขียนในกรุของพระปรางค์วัดราชบูรณะนี้มีส่วนแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของจิตรกรรมไทย คือ การจัดองค์ประกอบของภาพโดยละทิ้งแบบอย่างที่ใช้การจัดภาพเป็นพระพุทธรูปยืนเรียงกันเป็นแถวตามแนวขนาน มาเป็นการเขียนกลุ่มบุคคล รูปสัตว์ และลวดลายดอกไม้ มีการใช้ทองปิดลวดลายให้ภาพดูเด่นขึ้นคล้ายกับศิลปะจีนหรือเปอร์เซีย ซึ่งเป็นแบบที่นิยมทำกันทั่วไปในศิลปะตะวันออก จิตรกรรมเหล่านี้มีโครงสี (Colour scheme) ของภาพเป็นสีแดงเสน (Vermilion) โดยการใช้น้ำหนักอ่อนแก่ของสี ของสีขาว สีดำ และทองช่วยให้ภาพเด่นชัดขึ้น ถึงแม้ว่าการใช้สีในยุคนี้มีสีมากขึ้น มีการใช้ทองปิดเพื่อให้ลวดลายเด่นชัดขึ้น ซึ่งเป็นความก้าวหน้าของจิตรกรรมในสมัยนี้แต่โครงสีทั้งหมดของภาพก็ยังคงเป็นลักษณะของสีเอกรงค์อยู่นอกจากรูปแบบและการใช้สีที่ก้าวหน้าขึ้นมากกว่าจิตรกรรมของสุโขทัย แต่สิ่งที่เขียนขึ้นยังคงจำกัดอยู่เพียง รูปพระพุทธรูป รูปพุทธสาวก รูป สัตว์ รูปคน และดอกไม้ ซึ่งจิตรกรเขียนขึ้นเพื่อเป็นการบูชาอุทิศถวาย และเชิดชูพระกิติคุณของพระบรมศาสดา
แม้ว่าในสมัยอยุธยาตอนต้นนี้ จะมีหลักฐานทางจิตรกรรมมากกว่าสมัยสุโขทัยก็ตาม แต่สีสันที่ใช้ไม่ต่างไปจากจิตรกรรมที่ฝาผนังวัดเจดีย์เจ็ดแถวมากนัก รูปแบบของจิตรกรรมดูจะแยกออกจากแบบอย่างของศิลปะอินเดีย และมีลักษณะเฉพาะที่เป็นของไทยมากขึ้น เช่น ลวดลายประดับของซุ้มเรือนแก้วในพระเจดีย์วัดมหาธาตุ และในองค์พระปรางค์ วัดมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี เป็นต้น

จิตรกรรม


ความสำคัญของสี
สี คือลักษณะของแสงที่ปรากฏแก่สายตาให้เห็นเป็นสี (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยส
ในทางศิลปะ สีคือ ทัศนธาตุอย่างหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของงานศิลปะ และใช้ในการสร้างงานศิลปะ
ในทางวิทยาศาสตร์ให้คำจำกัดความของสีว่า เป็นคลื่นแสงหรือความเข้มของแสงที่สายตาสามารถมองเห็น
โดยจะทำให้ผลงานมีความสวยงาม ช่วยสร้างบรรยากาศ มีความสมจริง เด่นชัดและน่าสนใจมากขึ้น
สีเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของงานศิลปะ และเป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อถาน) ความรู้สึก
อารมณ์ และจิตใจ ได้มากกว่าองค์ประกอบอื่น ๆ ในชีวิตของมนุษย์มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสีต่าง ๆ
อย่างแยกไม่ออก โดยที่สีจะให้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น
1 ใช้ในการจำแนกสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เห็นชัดเจน
2 ใช้ในการจัดองค์ประกอบของสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงาม กลมกลืน เช่น การแต่งกาย การจัดตกแต่งบ้าน
3 ใช้ในการจัดกลุ่ม พวก คณะ ด้วยการใช้สีต่าง ๆ เช่น คณะสี เครื่องแบบต่าง ๆ
4 ใช้ในการสื่อความหมาย เป็นสัญลักษณ์ หรือใช้บอกเล่าเรื่องราว
5 ใช้ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ เพื่อให้เกิดความสวยงาม สร้างบรรยากาศ สมจริงและน่าสนใจ
6 เป็นองค์ประกอบในการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ของมนุษย์


การใช้สีในยุคสมัยต่าง ๆ

อียิปต์โบราณ
ในสมัยอียิปต์โบราณ การใช้สีมีความสัมพันธ์กับพิธีกรรม และเรื่องราวที่เกี่ยวกับศาสนา
การระบายสีไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นจริงทางทัศนียวิทยา หรือหลักความเป็นจริง เป็นภาพที่ไม่มีแสงเงา
เป็นรูปแบนระบายสีที่สว่างสดใส มองเห็นชัดเจน โดยใช้เทคนิคสีฝุ่นผสมไข่ขาว (egg tempera)
หรือใช้ไข่ขาวเคลือบบนผิวที่เขียนด้วยสีฝุ่นผสมน้ำ

กรีกโบราณ
ผลงานในสมัยกรีกโบราณ ที่เห็นชัดเจนจะได้แก่งานประติมากรรมและสถาปัตยกรรม จะพบเห็น
งานจิตรกรรมค่อนข้างน้อย ไม่ค่อยปรากฏงานจิตรกรรมฝาผนัง แต่จะพบในงานวาดภาพระบายสี
ตกแต่งเครื่องปั้นดินเผา จะนิยมใช้สีเพียง 2 - 3 สี คือ ขาว เหลือง แดง และเคลือบดำ
โรมันโบราณ
นิยมสร้างภาพบนผนังและพื้นห้องประดับด้วยโมเสค (Mosaic) สำหรับการวาดภาพใช้เทคนิค
ผสมไข (Encaustic painting) ซึ่งเป็นการใช้สีผสมกับไขระบายในขณะที่ยังร้อน ๆ จากการค้นพบ
หลักฐานผลงานในสมัยโรมันหลาย ๆ แห่ง นิยมสร้างเป็นภาพในเมือง ชนบท ภูเขา ทะเล
การต่อสู้ กิจกรรมของพลเมือง การค้าขาย กีฬา เรื่องเกี่ยวกับนินายปรัมปรา และประวัติศาสตร์

คริสเตียนยุคแรก
ในยุคไบเซนไทน์ (Bizentine) ซึ่งเป็นยุคเริ่มต้นของคริสเตียนนิยมสร้างภาพโดยใช้โมเสค
กระจก( Glass Mosaic) ทำเป็นภาพบุคคลสำคัญในพระคัมภีร์ไบเบิล ประดับตกแต่งภายในโบสถ ์
โดยมากมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงถึงความศรัทธาอย่างสูงต่อศาสนาคริสต์


การใช้สีในจิตรกรรมไทย
จิตรกรรมไทย เป็นงานวิจิตรศิลป์ที่มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรม อันดีงามของชาติ มีคุณค่าทางศิลปะและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ศาสนา และโบราณคดี จิตรกรรมไทยแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
1 จิตรกรรมไทยแบบประเพณี (Thai Traditional painting) เป็นงานจิตรกรรมที่แสดงความรู้สึกชีวิตจิตใจ และความเป็นไทย ที่มีความละเอียด อ่อนช้อยงดงาม สร้างสรรค์สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีต และสังเคราะห์จนได้ ลักษณะประจำชาติ ที่มีรูปแบบเป็นพิเศษเฉพาะตัว เป็นงานศิลปะในแบบอุดมคติ (Idialistic Art) นิยมเขียน เป็นภาพที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องราวต่าง ๆ คือ
1.1 พุทธประวัติ และเรื่องราวอันเกี่ยวเนื่องกับศาสนาพุทธ
1.2 พงศาวดาร ตำนาน เรื่องราวเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ เรื่องคตินิยมอันเป็นมงคล
1.3 วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียม ประเพณีต่าง ๆ
ลักษณะของผลงานเป็นภาพจิตรกรรม ระบายสีแบนเรียบด้วยสีที่ค่อนข้างสดใส แล้วตัดเส้นมีขอบ ที่คมชัด ให้ความรู้สึกเป็นภาพ 2 มิติ มีลักษณะในการจัดวางภาพแบบเล่าเรื่องเป็นตอน ๆ จากบนลงล่าง มีวิธีการใช้สีแตกต่างกันออกไปตามยุคสมัย ทั้งสีเอกรงค์ และพหุรงค์
2 จิตรกรรมไทยร่วมสมัย (Thai Contemporary painting) เป็นงานจิตรกรรมที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมใหม่แนวความคิดใหม่ ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน เป็นรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลจากงานศิลปะตะวันตกที่นำมาผสมผสาน กับรูปลักษณ์แบบไทย ๆ แล้วสร้างสรรค์เป็นรูปแบบใหม่ข สีที่ช่างนำมาใช้ในงานจิตรกรรมแต่เดิมนั้นมีน้อยมาก มักใช้สีเดียว ที่เรียกว่า "เอกรงค์" โดยใช้สีขาว สีดำและสีแดงเท่านั้น ทำให้เกิดความกลมกลืนกันมาก ต่อมาสีที่ใช้ในภาพจิตรกรรมก็มีมากขึ้น มีการเขียนภาพ ที่เรียกว่า"เบญจรงค์" คือใช้สี 5 สี ได้แก่ สีเหลือง เขียวหรือคราม แดงชาด ขาว และดำ การวาดภาพที่ใช้
หลาย ๆ สี เรียกว่า "พหุรงค์" สีที่ใช้ล้วนได้มาจากธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ และมีที่กำเนิดต่าง ๆ กัน บางสีเป็น ธาตุจากดิน บางสีได้จากสัตว์ จากกระดูก เขา งา เลือด บางสีได้จากพืช ลักษณะของสีที่นำมาใช้มักจะทำเป็น ผงละเอียด ซึ่งเรียกว่า สีฝุ่น ( Tempera) นำมาผสมกับวัสดุอื่นเพื่อให้ยึดเกาะผิวหน้าวัตถุได้ดี ได้แก่ กาวหรือ ยางไม้ ที่นิยมใช้คือ ยางของต้นมะขวิด และกาวกระถิน ลักษณะเด่นของจิตรกรรมไทยอีกอย่างหนึ่งคือ การปิด ทองคำเปลวในบางส่วนของภาพที่มีความสำคัญ เช่น เป็นเครื่องทรงหรือเป็นผิวกายของของบุคคลสำคัญในเรื่อง เป็นส่วนประกอบของปราสาทราชวัง หรือสถาปัตยกรรมที่สำคัญ ๆ ในภาพ เป็นต้น

ตอบคำถามสุนทรียศาสตร์




1.สุนทรียศาสตร์อะไร ? มีประโยชน์ต่อวิชาชีพพยาบาล และอย่างไร ?
ตอบ ในทัศนะของตนคิดว่า สุนทรียศาสตร์สาขา จริยศาสตร์ มีประโยชน์ต่อ วิชาชีพพยาบาล เนื่องจาก ต้องศึกษาและประเมินคุณค่าเกี่ยวกับ ความประพฤติ และ การกระทำของมนุษย์ โดยมีประเด็นสำคัญคือ ความดี ความเลว คุณธรรม ความยุติธรรม ความถูกต้อง สิทธิและหน้าที่ ทั้งต่อตนเอง และผู้อื่น ซึ่งวิชาชีพพยาบาลจำเป็นต้องปฏิบัติงานกับผู้ป่วย ควรมีความเป็นพยาบาลในการปฏิบัติงาน ซึ่งความเป็นพยาบาลนั้น เกี่ยวเนื่องไปถึง ความประพฤติ การกระทำ ความดี ความเลว คุณธรรม ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นค่ะ

2.สุนทรียศาสตร์จัดอยู่ในสาขาใด ?
ตอบ เป็น ปรัชญาสาขา อัคฆวิทยา (axilogy) หรือ ทฤษฏีคุณค่า เป็นหนึ่งใน 3 สาขาของปรัชญา
บริสุทธ์

3. สุนทรียศาสตร์ กับ จริยศาสตร์ แตกต่างกันอย่างไร ?
ตอบ สุนทรียศาสตร์ แตกต่างกับ จริยศาสตร์ ตรงที่
สุนทรียศาสตร์ ศึกษาและประเมินคุณค่าของความงามทั้งที่เป็นผลงาน ที่มนุษย์สร้างขึ้น และความงามของสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยมี สุนทรียธาตุ เป็นปัจจัยสำคัญ ประเด็นของปัญหาได้แก่ ความสวย ความงาม คุณค่า คุณสมบัติ อารมณ์ ความรู้สึก
จริยศาสตร์ ศึกษาและประเมินคุณค่าเกี่ยวกับ ความประพฤติหรือ การกระทำของมนุษย์ โดยมีประเด็นสำคัญของปัญหาได้แก่ ความดี ความเลว คุณธรรม ความยุติธรรม ความผิด ความถูกต้อง สิทธิหน้าที่

4. ความงามตามทัศนของท่านหมายความว่าอย่างไร ?
ตอบ ความงามเป็นคุณค่าอย่างหนึ่งของสิ่งเร้าที่มากระทบอวัยวะสัมผัสรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 แล้วทำให้เกิดความสุข ความพึงพอใจ ความเพลิดเพลิน ต่อสิ่งนั้นๆ และเป็นความงามในทางบวกเสมอ ความงามเกี่ยวข้องกับอารมณ์มากกว่าเหตุผล ความงามมีเพียงในจิต มิใช่คุณสมบัติของวัตถุ ความงามเป็นเพียงอารมณ์และความรู้สึกพึงพอใจตามธรรมชาติที่มีต่อวัตถุ มาตรฐานตัดสินความงามไม่เป็นสิ่งตายตัวอาจเปลี่ยนไปตามกาลเวลา สถานที่ สังคมและวัฒนธรรม
ความงามในทัศนะของข้าพเจ้าคือความงามเป็นสิ่งไม่ตายตัว ไม่แน่นอน แต่ขึ้นอยู่กับผู้ชมแต่ละคนว่าจะมีความคิดกับสิ่งที่เห็นอย่างไรมองความงามในแต่ละด้านแต่ละมุมไม่เหมือนกัน เช่น A. Richards กล่าวว่า ศิลปินไม่มีหน้าที่สอนหรือชี้แจงลักษณะสิ่งของ แต่มีหน้าที่ทำให้มีประสบการณ์ทางสุนทรียะมีสุขภาพจิตดี ความงามเป็นสิ่งที่ไม่ตายตัวขึ้นอยู่กับผู้ชมแต่ละคน
5. สุนทรียธาตุคืออะไร มีความหมายครอบคลุมอะไรบ้าง ?
ตอบ สุนทรียธาตุ มีองค์ประกอบของความงาม 3 ประการคือ ความงาม ความแปลกหูแปลกตา ความน่าทึ่งทั้งต่อสิ่งที่เป็นธรรมชาติ และเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของศิลปกรรม และธรรมชาติ สามารถรับรู้ได้ ด้วยอารมณ์ ความรู้สึก ให้คุณค่าต่อจิตใจในทางบวก

6. ท่านมีวิธีตัดสินความงามอย่างไร ?
ตอบ ตามทัศนของตน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดๆก็ตามที่รับรู้ได้ด้วยสัมผัสทั้ง 5 และทำให้รู้สึกพึงพอใจ เพลิดเพลิน มีความสุข ส่งผลต่อจิตใจในทางบวก เช่น สิ่งที่เป็นธรรมชาติ สายน้ำ เสียงเพลง บทกวี ถือเป็นความงามทั้งสิ้น มิอาจตัดสินได้ แต่ถ้าจะหาวิธีตัดสินความงาม ก็คงจะกล่าวได้ว่า สิ่งใดก็ตามที่ตนเองรับรู้ได้
สัมผัสได้ และทำให้ตนเองเกิดความพึงพอใจ และความสุขในทางบวก ถือว่าเป็นความงาม เช่น เห็นน้ำค้างบนยอดหญ้า ลายของเปลือกไม้ ต้นไม้ที่มีใบไม้เปลี่ยนสี เสียงดนตรี บทกวี บทเพลง เป็นต้น
การตัดสินความงามโดยใช้หลักปรัชญา
1. ปรนัยนิยม คือการตัดสินโดยยึดหลักมาตรฐานที่อยู่ในสภาวะของกาละและเทศะเป็นสำคัญ
2. อัตนัยนิยม คือมนุษย์เป็นผู้ตัดสินทุกอย่าง
7. ยกตัวอย่างการตัดสินความงามของนักปรัชญากลุ่มต่างๆ อย่างน้อย 3 กลุ่ม ?
ตอบ การตัดสินความงามของนักปรัชญามีหลายกลุ่มด้วยกัน แต่ในทัศนะของตนขอยกตัวอย่าง นักปรัชญาที่ตรงใจกับตนเองคือ
1.St.thomas Aquinas ถือว่า สิ่งที่งามคือสิ่งให้ความเพลิดเพลิน เพราะเรารู้ความงามได้ด้วยสติปัญญา ความงามมีเงื่อนไข 3 ประการคือ ความสมบูรณ์ ความได้สัดส่วน และความชัดแจ้ง สิ่งที่บกพร่องไม่ได้สัดส่วนและคลุมเครือ ขาดความชัดแจ้งเป็นสิ่งไม่งาม ความงามกับความดีโดยเนื้อแท้เป็นอันเดียวกันเพราะขึ้นอยู่กับรูปแบบ สัดส่วน ระเบียบและความกลมกลืนกัน
2.Hegel ถือว่า ความงามเป็นอาการของจิตสมบูรณ์ และปรากฏเป็นความงามทางสื่อคือ ประสาทสัมผัส ความงามปรากฏออกมาทางศิลปะ และศิลปะคือการที่มีจิตมีอำนาจเหนือวัตถุ
3.Nietzsche ถือว่า โลกนี้เป็นสิ่งชั่วร้ายน่าเกลียด แต่เปลี่ยนเป็นโลกที่ดีงามและน่ารื่นรมย์เพราะศิลปกรรมและจริยธรรม ศิลปะที่เปลี่ยนคุณค่าของชีวิตและของโลกมี 2 แบบ คือศิลปะอันเกิดจากความฝัน และศิลปะอันเกิดจากความเพลิดเพลิน เช่น ศิลปะอันเกิดจากความฝัน อยากสร้างโลกให้สวยงามแสดงออกทาง ประติมากรรม สถาปัตยกรรม

8. ท่านคิดว่า คุณค่ากับคุณสมบัติ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ?
ตอบ คุณค่าเป็นสิ่งที่มนุษย์กำหนดขึ้นและมีคุณค่าในตัวมันเอง
คุณค่าหมายถึงคุณสมบัติ เช่น ความแข็ง ความเหลว ร่วน คุณสมบัติย่อมมีลักษณะของคุณค่าด้วยดังนั้นคุณค่ากับคุณสมบัติควรจะเหมือนกัน


9. คุณค่ามีกี่แบบ แต่ละแบบมีความสำคัญอย่างไร ?
ตอบ คุณค่ามี 2 แบบ คือ
1.คุณค่าในตัวเอง คือ ความต้องการสิ่งๆนั้น เพราะตัวของสิ่งนั้น ไม่ใช่เพื่อสิ่งอื่น เช่น การมีความสุขทางจิตใจ การมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง
2.คุณค่านอกตัว คือ ความต้องการสิ่งๆนั้น เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งอื่นๆ เช่น ต้องการทำงานเพื่อให้ได้เงิน ต้องการอาหารเพื่อส่งเสริมสุขภาพ สนองความต้องการของร่างกาย ต้องการยาเพื่อรักษาโรค ต้องการศึกษาเล่าเรียนเพื่อจะได้มีความรู้

10. พยาบาล กับ ความเป็นพยาบาล แตกต่าง หรือ สัมพันธ์กันอย่างไร ?
ตอบ พยาบาล มีกรอบในการทำงานที่แน่นอน มีเงินเดือน มีหน้าที่ สถานที่ทำงาน ผู้ที่จะประกอบวิชาชีพนี้ได้ต้องมีพื้นฐานความรู้ด้านพยาบาล
ความเป็นพยาบาล จะต้องไม่มีสิ่งที่ไม่ดีเจือปน ดูแลหรือช่วยเหลือบุคคลอื่นด้วยความเมตตากรุณาปราณี เอื้ออาทร โอบอ้อมอารี มีความปรารถนาดีต้องการให้ผู้อื่นพ้นทุกข์จากการเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ ไม่รังเกียจ ไม่ดูถูกดูแคลนให้ความเสมอภาคในการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเท่าเทียมกัน

จิตรกรรม


จิตรกรรม ( Painting) เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการขีดเขียน การวาด และระบายสี เพื่อให้เกิดภาพ บรรลุ วิริยาภรณ์ประภาส 1997เป็นงานศิลปะที่มี 2 มิติ เป็นรูปแบน ไม่มีความลึกหรือนูนหนา แต่สามารถเขียนลวงตาให้ เห็นว่ามีความลึกหรือนูนได้ ความงามของจิตรกรรมเกิดจากการใช้สีในลักษณะต่าง ๆ กัน
องค์ประกอบสำคัญของงานจิตรกรรม คือ
1. ผู้สร้างงาน หรือ ผู้วาด เรียกว่า จิตรกร
2. วัสดุที่ใช้รองรับการวาด เช่น กระดาษ ผ้า ผนัง ฯลฯ
3. สี เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงเนื้อหา เรื่องราวเกี่ยวกับผลงาน

งานจิตรกรรมเป็นงานศิลปะที่เก่าแก่ดั้งเดิมของมนุษย์ เริ่มตั้งแต่การขีดเขียนบนผนังถ้ำ บนร่างกาย บนภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ จนพัฒนามาเป็นภาพวาดที่ใช้ประดับตกแต่งในปัจจุบัน การวาดภาพเป็นพื้นฐานของงานศิลปะทุกชนิด ผู้สร้างสรรค์งานจิตรกรรม เรียนว่า จิตรกร(Painter)
งานจิตรกรรม แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ
1. การวาดเส้น (Drawing) เป็นการวาดภาพโดยใช้ปากกา หรือดินสอ ขีดเขียนลงไป แปลก กิจเฟื่องฟู 2539บนพิ้นผิววัสดุรองรับเพื่อให้เกิดภาพ การวาดเส้น คือ การขีดเขียนให้เป็นเส้นไม่ว่าจะเป็นเส้นเล็ก หรือเส้นใหญ่ ๆ มักมีสีเดียวแต การวาดเส้นไม่ได้จำกัดที่จะต้องมีสีเดียว อาจมีสีหลาย ๆ สีก็ได้ การวาดเส้น จัดเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะแทบทุกชนิด อย่างน้อย ผู้ฝึกฝนงานศิลปะควรได้มีการฝึผนงานวาดเส้นให้เชี่ยวชาญเสียก่อน ก่อนที่จะไปทำงานด้านอื่น ๆ ต่อไป
2. การระบายสี (Painting) เป็นการวาดภาพโดยการใช้พู่กัน หรือแปรง หรือวัสดุอย่างอื่น มาระบายให้เกิดเป็นภาพ การระบายสี ต้องใช้ทักษะการควบคุมสีและเครื่องมือมากกว่าการวาด เส้น ผลงานการระบายสีจะสวยงาม เหมือนจริง และสมบูรณ์แบบมากกว่าการวาดเส้น
ลักษณะของภาพจิตรกรรม
งานจิตรกรรม ที่นิยมสร้างสรรค์ ขึ้นมีหลายลักษณะ ดังนี้ คือ
1. ภาพหุ่นนิ่ง (Sill life) เป็นภาพวาดเกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ หรือ วัสดุต่าง ๆ ที่ไม่มีการ เคลื่อนไหว เป็นสิ่งที่อยู่กับที่
2. ภาพคนทั่วไป แบ่งได้ 2 ชนิด คือ
2.1 ภาพคน (Figure) เป็นภาพที่แสดงกิริยาท่าทางต่าง ๆ ของมนุษย์ โดยไม่เน้นแสดงความ เหมือนของใบหน้า
2.2 ภาพคนเหมือน (Potrait) เป็นภาพที่แสดงความเหมือนของใบหน้า ของคน ๆ ใดคนหนึ่ง
3. ภาพสัตว์ ( Animals Figure) แสดงกิริยาท่าทางของสัตว์ทั้งหลาย ในลักษณะต่าง ๆ
4. ภาพทิวทัศน์ (Landscape) เป็นภาพที่แสดงความงาม หรือความประทับใจในความงาม ของ ธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อม ของศิลปินผู้วาด ภาพทิวทัศน์ยังแบ่งเป็นลักษณะต่าง ๆ ได้อีก คือ
4.1 ภาพทิวทัศน์ผืนน้ำ หรือ ทะเล (Seascape )
4.2 ภาพทิวทัศน์พื้นดิน (Landscape)
4.3 ภาพทิวทัศน์ของชุมชนหรือเมือง (Cityscape)
5. ภาพประกอบเรื่อง (Illustration) เป็นภาพที่เขียนขึ้นเพื่อบอกเล่าเรื่องราว หรือถ่ายทอดเหตุการณ์ ต่าง ๆ ให้ผู้อื่นได้รับรู้ โดยอาจเป็นทั้งภาพประกอบเรื่องในหนังสือ พระคัมภีร์ หรือภาพเขียนบนฝาผนัง อาคาร สถาปัตยกรรมต่าง ๆ และรวมถึงภาพโฆษณาต่าง ๆ ด้วย
6. ภาพองค์ประกอบ (Composition) เป็นภาพที่แสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของศิลปะ และ ลักษณะในการจัดองค์ประกอบ เพื่อให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้สร้าง โดยที่อาจไม่เน้น แสดงเนื้อหาเรื่องราวของภาพ หรือ แสดงเรื่องราวที่มาจากความประทับใจ โดยไม่ยึดติดกับความเป็นจริง ตามธรรมชาตินาๆ ชนิดนี้ ปรากฏมากในงานจิตรกรรมสมัยใหม่
7. ภาพลวดลายตกแต่ง (Decorative painting) เป็นภาพวาดลวดลายประกอบเพื่อตกแต่งสิ่งต่าง ๆ ให้ เกิดความสวยงามมากขึ้น เช่น การวาดลวดลายประดับอาคาร สิ่งของเครื่องใช้ ลวดลายสัก ฯลฯ

ตอบคำถามอาจารย์


1. สุนทรียศาสตร์ คืออะไร
ตอบ=
เป็นวิชาที่ว่าด้วยความงามอาจเป็นสิ่งลึกซึ้งที่มีอยู่ในทุกสิ่ง อาจจะเป็นสิ่งบริสุทธิ์ที่ปราศจากการปรุงแต่ง หรืออาจจะเป็นคุณสมบัติในทางศีลธรรม หรือสิ่งที่โน้มน้าวใจให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ปลาบปลื้ม ความงามอาจมีอยู่รอบๆ ตัวเรา ทั้งสิ่งที่มนุษย์เราสร้างขึ้นมาเอง ทั้งสิ่งที่เกิดโดยธรรมชาติ ความงาม ความงามในธรรมชาติ และความงามในผลงานที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นเป็นงานศิลปกรรม
2.สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ =
1. ส่งเสริมกระบวนการคิด การตัดสินความงาม อย่างสมเหตุสมผล
2. ช่วยกล่อมเกลาให้เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดี อย่างมีเหตุมีผล
3. เสริมสร้างประสบการณ์สุนทรียะให้กว้างขวางเพื่อการดำรงอยู่อย่างสันติสุข
4. ส่งเสริมแนวทางในการแสวงหาความสุขจากความงามของสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
5. ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของสรรพสิ่งและการบูรณาการเพื่อการประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์กับชีวิตประจำวันด้วยเหตุผลและความรู้สึกที่สอดคล้องกัน
3.สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อวิชาชีพพยาบาลอย่างไร
ตอบ=
ทำให้พยาบาลใช้กระบวนการคิดการตัดสินใจในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างมีเหตุมีผลและทำให้พยาบาลมีจิตใจที่อ่อนโยนมองโลกในแง่ดีและมองโลกอย่างกว้างขวาง วิชาชีพพยาบาลสามารถนำสุนทรียศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันด้วยเหตุและผลในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วย

ตอบคำถาม 5ข้อ

ตอบคำถาม 5 ข้อ
1. ถ้าคุณค่าหมายถึงคุณสมบัติ เช่น ของเหลว ร่วน แข็ง ก็ย่อมเป็นลักษณะของคุณค่าด้วย?
ตอบ หากเรากำหนดให้คุณค่าหมายถึง คุณสมบัติดังเช่นตัวอย่าง นั่นก็หมายความว่า คุณสมบัติก็เป็นลักษณะหรือเป็นส่วนประกอบของคุณค่าด้วยเช่นกัน แต่ความเหลว ความร่วน ความแข็ง เป็นสิ่งที่มนุษย์รับรู้ได้จากสิ่งเร้าหรือการรับสัมผัส ตัดสินว่ามันเป็นสิ่งที่เห็นจริง ๆ
2. ถ้าคุณค่าในตัวของมันเองเป็นคนละเรื่องของคุณสมบัติ คุณค่าควรจะอยู่ที่ใด ?
ตอบ อยู่ที่อารมณ์และความรู้สึกของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าใครจะรู้สึกว่าอย่างไรกับสิ่งเร้า แล้วตัดสินใจว่า สิ่งนั้นมีคุณค่าในตัวมันเองหรือไม่
3. ถ้าคุณค่าของตัวมันเอง หมายถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อสิ่งอื่น
ตอบ ถ้าคุณค่าหมายถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อสิ่งอื่น นั้นคือ คุณค่าไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัตถุเพียงอย่างเดียวแต่คุณค่ามีความสัมพันธ์กับจิตใจ คือ ไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นลอย ๆ แต่เมื่อสิ่งนั้นเอื้อประโยชน์กับสิ่งอื่น ๆ ก็แสดงว่า สิ่งนั้นมีคุณค่ามีอิทธิพลต่อสิ่งอื่น ๆ หรือมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะด้านบวกและด้านลบก็ตามแสดงว่าคุณค่ามีความสัมพันธภาพกับจิตใจ หรือเกิดจากจิตใจมนุษย์กับวัตถุด้วยเช่นใจ
4. ถ้าคุณค่าในตัวของมันเองหมายถึงการดำรงอยู่โดยไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใด?
ตอบ ถ้าหากเงื่อนไขบกว่าคุณค่าในตัวของมันเองหมายถึง การดำรงอยู่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใดหรือไม่มีผลต่อสิ่งใด ทั้งทางตรงและทางอ้อม คุณค่าในตัวของมันเองก็มีได้เพราะคุณค่าถูกกำหนดจากมนุษย์ขึ้นมาเท่านั้นเอง จะนำมาใช้หรือไม่นำมาใช้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ความมีคุณค่าก็ยังคงอยู่เหมือนเดิม แต่คำกล่าวที่ว่าสรรพสิ่งใดในโลกจะอยู่ไม่ได้เลยถ้าไม่มีสัมพันธ์กับสิ่งใดนั้นเป็นการแสดงว่า จิตใจเรามีปฏิกริยากับสถานการณ์หรือวัถตุขณะนั้นแล้วเรานำความรู้สึกหรือการได้รับรู้อารมณ์มาปรุงแต่งทำให้เกิดเป็นสัมพันธภาพระหว่างกัน ก็เลยมองว่า ทุกสิ่งในโลกมีความสัมพันธ์ต่อกัน
5. การพิจารณาปัญหาคุณค่าแบบโดด ๆ โดยไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใด?
ตอบ การพิจารณาปัญหาอื่น ๆ กับปัญหาคุณค่าเป็นเพียงการตัดสินในเรื่องของอารมณ์และความรู้สึกนึกคิด ถ้าคิดว่าคุณค่ามีความสัมพันธ์กับสิ่งอื่น ๆ กับความหมายว่าปัญหาของมนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งแวดล้อมมีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ แต่จิตนิยมบอกว่าขึ้นอยู่กับจิตใจและความรู้สึกของคนที่ตัดสินซึ่งไม่เหมือนกันทุกคนบางคนอาจจะคิดว่าเป็นปัญหาของบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่บางคนอาจจะคิดว่าปัญหาเกิดขึ้นเพราะเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อมหรือบริบทของสิ่งนั้นสรุป จากคำถามทั้งหมดไม่สามารถหาคำตอบได้ตายตัวแน่นอนขึ้นอยู่กับว่าเรากำหนดให้เงื่อนไขนั้นเป็นอย่างไรและมุมมองของแต่ละคนที่แตกต่างกันก็ทำให้ความคิดเห็นของแต่ละคนก็แตกต่างกันด้วย การตัดสินคุณค่าในสิ่งใดสิ่งหนึ่งจึงเป็นเรื่องของอารมณ์และความรู้สึกของแต่ละคนวัตถุบางอย่างอาจมีคุณค่ามากสำหรับคนหนึ่งแต่อาจจะหาคุณค่าไม่ได้เลยสำหรับอีกคนหนึ่งก็ได้ คุณค่าของความงามจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับจิตใจมนุษย์และความสัมพันธภาพกับวัตถุรับสัมผัส ในขณะนั้น

จิตรกรรม




จิตรกรรมฝาผนังในล้านนา
ในดินแดนล้านนามีจิตรกรรมฝาผนังหลายแห่ง จิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดของล้านนา คือ จิตรกรรมที่ฝาห้องใต้เจดีย์วัดอุโมงค์ เชิงดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นเรื่องเกี่ยวกับอดีตของพระพุทธเจ้า เกี่ยวข้องกับศิลปะสุโขทัย อยุธยาตอนต้น
จิตรกรรมสำคัญต่อมามีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 เป็นภาพเขียนบนแผ่นผ้าหรือ พระบฏสำหรับเคารพบูชา อยู่ในกรุเจดีย์ วัดดอกเงิน อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เขียนภาพพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากดาวดึงส์ ปัจจุบันอยู่ที่หอศิลป์ ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ
จิตรกรรมเก่าแก่อีกชิ้นหนึ่งเขียนบนแผ่นไม้ที่วิหารน้ำแต้ม ในวัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง เป็นนิทานชาดกพื้นบ้าน และประวัติของพระอินทร์ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 22
หลังจากนั้น จิตรกรรมล้านนาก็ขาดช่วงไปกว่า 200 ปี จนถึงราวกลางพุทธศตวรรษที่ 24 จึงมีจิตรกรรมอิทธิพลรัตนโกสินทร์ และตะวันตกเข้ามาปะปน แต่ก็ยังคงยึดแนวการแสดงออกแบบประเพณีท้องถิ่น ตัวอย่างจิตรกรรมล้านนาสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงเขียนเรื่องชาดก 50 เรื่อง (ปัญญาสชาดก) ของล้านนา คือ ที่วิหารลายคำวัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ ที่วัดภูมินทร์ และวัดหนองบัว จังหวัดน่าน ส่วนที่วัดสบพลี จังหวัดลำปาง เขียนภาพประจำวัน สีที่ใช้ในจิตรกรรมรุ่นเก่าเป็นสีจากธรรมชาติ คือ สีฝุ่นผสมกาวยาง หรือไม้ หรือกาวหนังสัตว์
จิตรกรรมฝาผนังสกุลช่างล้านนา สร้างขึ้นโดยเงื่อนไขทางสังคมวัฒนธรรมไทยล้านนาที่มีลักษณะเฉพาะตัว เป็นของกลุ่มวัฒนธรรม การกินข้าวเหนียวซึ่งแตกต่างไปจากภาคกลางที่บริโภคข้าวเจ้ามากกว่า
การแต่งกายของชาวไทยล้านนา ผู้ชายจะเปลือยกายท่อนบน สักหมึกแดงเป็นรูปสัตว์ มีผ้าพันคอ ท่อนล่างนิยมสักหมึกสีดำ ตั้งแต่บั้นเอวลงมาจนถึงหน้าแข้งแล้วนุ่งเตี่ยวทับอีกชั้น (เป็นผ้าผืนยาว 2 เมตร กว้าง 10 เซนติเมตร) รวบเป็นแถบผ้า ชายพกไว้ที่เอว ด้านหน้า สอดชายผ้าที่เหลือลอดหว่างขาไปรวบสอดไว้ที่บั้นเอวด้านหลัง ไว้ผมทรงมหาดไทย เจาะหูสอดใส่ทองคำแผ่นที่ม้วนเป็นแท่งไว้ ส่วนผู้หญิง กายท่อนบนเปลือย บางทีมีผ้าพันอก นุ่งผ้าซิ่นกรอมเท้า ทั้งชายและหญิงเดินเท้าเปล่า
จิตรกรรมที่พบส่วนใหญ่เขียนไว้ในวิหารมากกว่าโบสถ์ และมักสร้างขึ้นไว้ในวัดที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนนั้นๆ

ลักษณะของจิตรกรรมไทยแบบประเพณี







ลักษณะของจิตรกรรมไทยแบบประเพณี
จิตรกรรมไทยแบบประเพณีเด่นชัดด้วยสีที่ระบายเรียบและตัดเส้นแสดงรูปร่าง แสดงรายละเอียดของภาพ ดังภาพบุคคล เช่น พระราชา เสนาบดี บ่าว ไพร่ หรือภาพสัตว์ ต้นไม้ ดอกไม้ใบไม้ ทั้งหมดเขียนเพื่อให้ดูสมจริงตามเรื่องราวอันเป็นอุดมคติในพุทธศาสนา
งานตัดเส้นในงานจิตรกรรมไทยมีความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะนอกจากจะแสดงฝีมือเชิงช่างแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นแนวความคิดทางสังคมระดับต่างๆ ภาพพระราชา เจ้านายหรือบุคคลชั้นสูง ข้าทาส บ่าวไพร่ มีกฎเกณฑ์ในการแสดงภาพแตกต่างกัน การแสดงออกทางด้านความประณีตก็ต่างกันด้วย
ภาพพระราชาได้รับการตัดเส้นให้ดูอ่อนช้อยรายละเอียดทางด้านสรีระเขียนเพียงเท่าที่จำเป็นโดยไม่แสดงกล้ามเนื้อ รอยต่อข้อกระดูก เพราะสิ่งเหล่านี้ขวางกั้นลักษณะเลื่อนไหล ที่ก่อให้เกิดความนุ่มนวลงามสง่าอย่างละคร โดยสื่อความตามท้องเรื่อง ซึ่งชาวไทยมีแนวความคิดว่าพระราชาทรงเป็นเทวราชา หรือสมมติเทพ เครื่องทรงของพระองค์ก็เขียนขึ้นอย่างประณีตพิถีพิถันปิดทองตัดเส้นอย่างงดงามที่เครื่องประดับ
ภาพเจ้านายหน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์ก็เขียนอย่างประณีตลดหลั่นลงไป ดังกล่าวนี้เป็นลักษณะแห่งอุดมคติที่อิงความสมจริง
ภาพเสนาบดีขุนนาง ภาพบ่าวไพร่ มีเครื่องแต่งกายตามยศศักดิ์ฐานะ กิริยาท่าทางของภาพบุคคลเหล่านี้มักเป็นไปอย่างธรรมชาติภาพผู้ดีมีกิริยาสุภาพนุ่มนวล ไม่ตลกคะนองอย่างภาพชาวบ้าน ซึ่งได้พบเห็นเสมอในฉากที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในชีวิตประจำวัน
ภาพพระพุทธองค์ซึ่งย่อมเป็นภาพประธานในฉากเล่าเรื่องพุทธประวัติตอนต่างๆ เขียนขึ้นให้สมจริง โดยผสมผสานกับพุทธลักษณะอันเป็นอุดมคติตามที่คัมภีร์ระบุไว้ กรรมวิธีของจิตรกรรมที่ช่างเขียนนำมาใช้เพื่อเน้นพุทธบารมี ได้แก่ กรอบประภามณฑลรอบพระวรกาย หรือกรอบรอบพระเศียร เป็นต้น ประภามณฑลหมายถึง รัศมีที่เปล่งออกมาจากพระพุทธองค์ภายหลังจากที่ทรงตรัสรู้ พระรัศมีรูปเปลวเหนือพระเศียร ซึ่งมักปิดทองเพื่อให้ดูแวววาว ก็เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่นิยมใช้ในงานจิตรกรรมไทยแบบประเพณี
ภาพปราสาทราชวัง เครื่องสูงต่างๆ ของพระราชามหากษัตริย์มีสีสัน ปิดทองตัดเส้นอย่างงดงาม เขียนขึ้นอย่างสมจริงที่อิงความงามอย่างอุดมคติโดยสอดคล้องกับภาพพระราชา ขณะที่ภาพบ้านเรือนภาพสัตว์น้อยใหญ่ ต้นไม้ ท้องฟ้า น้ำ เป็นต้น มีความสมจริงมากกว่า

ความงาม







ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นางวันวิสาข์ เฮงรักษา อายุ 27 ปี
ชื่อเล่น แอน
อยู่บ้านเลขที่ 30/2 หมู่ 11 ต. ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร
เบอร์โทรศัพท์ 087-9039814
การศึกษา
จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนวัดหนองบัว
จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนวัดหนองบัว
จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย
จบการศึกษาระดับอนุปริญญาจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฏร์ธานี
ปัจจุบันกำลังศึกษาต่อปริญญาตรีวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
สัตว์เลียงที่ชอบ สุนัข
อาหารจานโปรด ข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยว ไก่ทอด
สถานที่ท่องเที่ยว ชอบไปทะเล เชียงใหม่
คติประจำใจ ทำวันนี้ให้ดีที่สุด








วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

จิตรกรรม


ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดพระสิงห์ แม่แบบ:ล้านนาไทย
ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดพระสิงห์ ผนังวิหารลายคำวัดพระสิงห์มีภาพจิตรกรรมโดยรอบ โดยทิศเหนือเขียนเรื่องสังข์ทอง ทิศใต้เขียนเรื่องสุวรรณหงส์ ซึ่งภาพจิตรกรรมทั้ง 2 เรื่องนี้มีความน่าสนใจ โดยเฉพาะภาพจิตรกรรมเรื่อง สังข์ทองนั้น พบได้ที่วิหารลายคำเพียงแห่งเดียวเท่านั้น
ภาพจิตรกรรมเรื่องสังข์ทองและสุวรรณหงส์มีตำนานว่า จิตรกรได้กั้นม่านเพื่อเขียนภาพแข่งขันกัน โดยจิตรกรจากกรุงเทพฯ วาดภาพเรื่องสุวรรณหงส์ และจิตรกรเชียงใหม่วาดภาพเรื่องสังข์ทอง ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้สรุปเกี่ยวกับเรื่องลักษณะเด่นของภาพจิตรกรรมที่พบในล้านนาไว้ว่า “จิตรกรรมในภาคเหนือนิยมเขียนภาพชีวิตประจำวัน...เป็นภาพเหมือนชีวิตจริง ถ้าเรามองดูภาพที่งดงามเรื่องสังข์ทองในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ เราจะรู้สึกคล้ายกับว่า เราเข้าไปอยู่ในสภาพการณ์ที่เป็นจริงตามความเป็นอยู่เมื่อ 100 ปีก่อน” ภาพจิตรกรรมฝาผนังในวิหารลายคำเป็นภาพจิตรกรรมที่มีคุณค่า แสดงให้เห็นสภาพสังคม วัฒนธรรม และความเป็นอยู่ และความคิดความอ่านของผู้คนในสมัยนั้น
ภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องสังข์ทอง สะท้อนเรื่องราวประวัติศาสตร์สังคมล้านนา ในยุคที่กรุงเทพฯ เข้าครอบงำ และเจ้านายฝ่ายเหนือก็ไม่มีอำนาจอีกต่อไป ส่งผลถึงด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม การปกครองได้เปลี่ยนไป จิตรกรผู้สร้างภาพจิตรกรรมจึงใส่ความรู้สึกนั้นๆ ลงในงานของตน เช่น ภาพของเหล่าขุนนางแต่งกายอย่างมีระเบียบแบบแผนแต่ไม่มีชีวิตชีวา ส่วนเจ้านายดูสง่างาม มีลักษณะเหมือนคนทั่วไปรวมถึงราชวังอันเป็นที่อยู่ของเจ้าก็ถูกสร้างขึ้นอย่างประณีตสวยงาม จากการวิเคราะห์ภาพจิตรกรรมของ สน สีมาตรัง กล่าวว่า จิตรกรเชียงใหม่ที่เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังด้านทิศเหนือ ของวิหารลายคำ เป็นลักษณะการเขียนภาพที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวช่าง ซึ่งบ่งบอกถึงความประทับใจของช่างแล้วแสดงออกในภาพ เป็นแบบอิสระตามความชอบและความถนัดของช่างเขียน มากกว่าจะเป็นแบบทำตามคำสั่งงานของนายช่างใหญ่หรือผู้ปกครอง
ภาพจิตรกรรมฝาผนังในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ มีลักษณะการเขียนของช่างที่สวยงามประณีตมาก แสดงให้เห็นความชำนาญของช่างเขียนที่ได้ถ่ายทอดออกมา มีลักษณะการเขียนที่ผสมผสานระหว่างศิลปะพม่าและรัตนโกสินทร์ รวมกับลักษณะเฉพาะของปราสาทล้านนา และเรือนกาแล ที่นิยมสร้างกันสมัยนั้น ภาพคน คือ ตัวพระ ตัวนาง และภาพตัว กาก (ภาพสามัญชน) มีลักษณะการเขียนที่แสดงถึงลักษณะของคน ล้านนาในยุคนั้น เครื่องแต่งกายต่างๆ ก็บอกความเป็นคนล้านนา โดยจะสังเกตเห็นว่าเครื่องแต่งกาย ของข้าราชการในวังสมัยรัชกาลที่ ๕ ปรากฏอยู่ในภาพ นอกจากนี้ยังปรากฏลักษณะการแต่งกายของชนเผ่าต่างๆ ที่มีความใกล้ชิดกับชาวล้านนาสมัยนั้นด้วยรูปลักษณ์ของ หน้ากลม ตาสองชั้นเรียวยาว จมูกเรียวเล็ก ปากรูปกระจับ ทรงผมเกล้ามวยของผู้หญิง และทรงผมผู้ชายเป็นกระจุกอยู่กลางศีรษะที่เรียก กันว่า"ทรงมหาดไทย" ซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะของผู้คนชาวล้านนา ส่วนลักษณะการเขียน สถาปัตยกรรมประกอบภาพในเรื่องส่วนประกอบของไม้ใช้เป็นส่วนบน ปูนใช้ เป็นส่วนกลางและหลังคามุงกระเบื้อง ส่วนรั้วและกำแพง บางจุดเป็นไม้ บางจุดเป็นอิฐมีความละเอียดประณีตมาก ใช้ทองคำเปลว ช่วยให้เกิดความสวยงาม มีผ้าม่านเป็นฉากกั้นระหว่างห้อง เขียนลายผ้าม่านเป็นลวดลายดอกไม้สวยงามมาก
สีที่ใช้จิตรกรรมฝาผนังในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ เป็นวรรณสีเย็น ซึ่งมีสีน้ำเงินครามและสีเขียวเป็นส่วนใหญ่ นอกจาก นี้ก็มีสีแดง สีเขียว สีน้ำตาล สีดำ และสีทอง ซึ่งใช้เขียนส่วนที่เป็นโลหะปิดด้วยทองคำเปลวตัดด้วยสีแดงและดำ เช่น เชิงหลังคา และยอดปราสาท สิ่งของเครื่องใช้ เช่น อาวุธ เครื่องประดับ

จิตรกรรม


จิตรกรรมฝาผนังเรื่องสามก๊กสถานที่ : วัดประเสริฐสุทธาวาส เขตราษฏร์บูรณะ
จารึกบนแผ่นหินซึ่งฝังติดกับผนังด้านทิศตะวันตก ภายในโบสถ์อ่านได้ว่า ในปี พ.ศ. 2381 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 พระประเสริฐวานิชได้บริจาคเงินซ่อมแซมทั้งพระอาราม สันนิษฐานว่าพระประเสริฐวานิชผู้นี้น่าจะเป็นคนเดียวกับเจ้าสัวเส็ง เศรษฐบุตร แต่จากหลักฐานศิลปวัตถุที่พบในวัด ได้แก่ ใบเสมา พระประธานในวิหาร และพระประธานในพระอุโบสถ ระบุว่าวัดนี้มีอายุเก่าแก่ตั้งแต่สมัยก่อนอยุธยาสิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้คือภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ วาดอยู่เหนือกรอบประตูหน้าต่างโดยรอบทั้งสี่ทิศ เป็นภาพเขียนลายเส้นสีดำ แบ่งเป็นตารางสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ เขียนเป็นเรื่องสามก๊ก แต่ละช่องมีภาษาจีนกำกับ ตามคติการเขียนภาพแบบจีน ตัวภาพอยู่ในสภาพค่อนข้างดี ลายเส้นยังคมชัด จะมีก็แต่บริเวณใกล้กรอบประตูหน้าต่างที่ภาพลบเลือนไปบ้างนอกจากนี้ยังมีพระอุโบสถเป็นแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 คือนำศิลปะจีนมาผสม มองเผิน ๆ คล้ายศาลเจ้าจีน ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา มีลวดลายรูปปั้นแบบจันประดับบนหลังคาและหน้าบัน โดยใช้เครื่องถ้วยเคลือบที่ทุบให้แตกแล้วเป็นวัสดุตกแต่งซึ่ง น. ณ ปากน้ำ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องประวัติศาสตร์ศิลป์สันนิษฐานว่าวัดนี้อาจเป็นต้นแบบในด้านศิลปกรรมแบบจีนผสมไทยให้กับวัดราชโอรส ซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 3 ก็ได้

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

จิตรกรรม



จิตรกรรมหรือภาพเขียนมีส่วนประกอบหลัก คือ เส้น สี และน้ำหนักของสี สีมีส่วนสัมพันธ์กับความกว้าง ยาว และความลึกในภาพ สีช่วยสื่อคว ามหมายทางอารมณ์และจิตใจด้วย เช่น ช่างเขียนภาพพุทธประวัติบนผนังโบสถ์แห่งหนึ่ง จะวางโครงสร้างของสีให้สอดคล้องกับเรื่องรา วและสถานที่เพื่อให้เกิดความรู้สึกศรัทธาในศาสนา สีที่นำมาใช้เขียนภาพ ส่วนมากได้มาจากวัตถุซึ่งมาจากธรรมชาติ เช่น สีของดิน หิน พืช และสัตว์ ช่างเขียนไทยแต่โบราณนิยมเขียนภาพด้วยสีฝุ่นผสมกาว ดังจะดูตัวอย่างได้จาก ภาพจิตรกรรมฝาผนังตามผนังของโบสถ์ เมื่อต้องการเขียนภาพ ช่างเขียนจะนำเอาวัสดุต่าง ๆ ซึ่งจะใช้ทำเป็นสีมทำให้แห้งและบดให้ละเอียดเป็นผง เรียกกันว่า สีฝุ่น เมื่อจะเขียนภาพช่างเขียนจะผสมสีฝุ่นด้วยกาวและน้ำกาวที่ใช้ในสมัยโบราณส่วนมากเ ป็นกาวที่ทำจากหนังสัตว์
ภาพเขียนฝาผนังของไทยทั้งหมด เขียนบนผนังฉาบปูนซึ่งแห้งแล้ว ส่วนการเขียนภาพบนผนังปูนซึ่งยังเปียกตามกรรมวิธีของตะวันตก ที่เรียกว่า เฟรสโก (fresco) ไม่เป็นที่นิยมของช่างไทย
การเขียนภาพจิตรกรรมของไทยโบราณ ส่วนใหญ่มักเป็นการเขียนภาพเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา หรือคติความเชื่อต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกั บศาสนา ดังนั้นการเขียนภาพจิตรกรรมจึงมักเขียนกันบนผนังภายในโบสถ์หรือวิหารของวัดต่างๆ และจะเขียนบนผนังฉาบปูนเรียบซึ่ง ปูนแห ้งสนิทแล้ว
แต่เนื่องจากลักษณะสภาพดินฟ้าอากาศของไทยมีความชื้นในอากาศสูง และลักษณะการก่อสร้างโบสถ์วิหาร เป็นการก่อสร้างลักษณะผนังรับน้ำหนัก ก่อด้วยอิฐซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดซึมความชื้นได้ดี ทั้งความชื้นจากน้ำใต้ดินและความชื้นจากอากาศ ทำให้ผ นังปูนซึ่งแห้งสนิทใน ช่วงระยะเวลาการก่อสร้างเสร็จใหม่ๆ ดูดซึมความชื้นเข้าในผนังได้อีก ทำให้ผิวปูนฉาบผุกร่อน ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมากต่อภา พจิตรกรรมที่เขียนอยู่บนผิวหน้าของผนังปูนนอกจากความชื้นจะทำให้ผิวปูนฉาบผุกร่อนแล้ว วัสดุที่ใช้ในการเขียนภาพ เช่น สีดิน และกาวหนังสัตว์ ที่ใช้ในการผสมสี ก็เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดเชื้อราซึ่งเป็นอันตรายต่อภาพเขียนเช่นกัน ดังจะเห็นได้ว่าภาพจิตรกรรมฝาผนังในประเทศ ไทยส่วนใหญ่ชำรุดเสียหายและซ่อม แซมยากมาก การซ่อมแซมต้องใช้กรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์แก้ไขความชื้นในผนังเสียก่อนจึงจะซ่อมแซมได้นอกจากการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังด้วยสีฝุ่นผสมกาวแล้ว การเขียนภาพจิตรกรรมเป็นแผ่นทั้งบนผ้าและบนกระดาษของไทยใน สมัยโบราณก็ใช้สีฝุ่นเขียนด้วยเช่นเดียวกัน เช่น การเขียนภาพเรื่องราวบนสมุดข่อย เป็นต้น ในสมัยโบราณการเขียนภาพสีน้ำมัน บนผ้าไม่ปรากฏหลักฐาน
ผู้ที่เขียนภาพจิตรกรรมสีน้ำมันเป็นคนแรกคือพระสรลักษณ์ลิขิต (เริ่มมีผลงานปรากฏ ในสมัยรัชกาลที่ 6) ซึ่งในสมัยต่อม ามีผู้นิยมเขียนภาพด้วยสีน้ำมันบนผ้ากันมากขึ้น เนื่องจากมีความคงทนไม่เสียหายง่ายเหมือนการเขียนด้วยสีฝุ่น ในปัจจุบันมีผู้ผลิตสีเขียน ภาพด้วยสารผสมทางเคมีต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมและนอกจากนั้นศิลปินในปัจจุบันได้มีการทดลองค้นไา และนำเอาวัสดุหลายประเภทมาใช้ในงานจิตรกรรม ทำให้รูปแบบของจิตรกร รมเปลี่ยนแปลงไปจากแบบประเพณีที่ทำสืบเนื่องต่อกันมาจากสมัยโบราณ